Motherife Tips EP.29 : รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

Play Video
สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife Tips กันอีกเช่นเคยครับ สาระในวันนี้จัดได้ว่าเป็นสาระที่มีความสำคัญกับผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่มากๆเลยครับ เพราะเป็นเรื่องราวของ อาการซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นอาการป่วยนะครับไม่ใช่เรื่องของอุปนิสัยของคุณแม่แต่อย่างใด ซึ่งหากไม่สามารถรับมือได้ทันก็อาจทวีความรุนแรงจนส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณแม่รวมไปถึงลูกน้อยได้ครับ ว่าแล้วก็ไปทำความเข้าใจเรื่องของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกันคร้าบบบ โดยผู้เชี่ยวชาญได้จำแนกการป่วยซึมเศร้าหลังคลอดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ครับ
1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) และ
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)

คุณแม่ให้นมบุตร ห้ามกิน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม จริงหรือ ?

1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)

รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues, Maternity blues) เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดของคุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด คือประมาณ 50-70%โดยคุณแม่จะมีอาการซึมเศร้าเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ฮอร์โมนที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจนตรวจไม่พบในกระแสเลือด เชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ อารมณ์เศร้าของแต่ละคนจะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นในช่วง 2-5 วันแรกหลังคลอด (ภาวะซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หลังจากนั้นอาจจะพบได้บ้างประปราย บางทีอาจจะพบหลังคลอดไปแล้วหลาย ๆ เดือนก็ได้ ซึ่งสาเหตุก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อม คนรอบข้าง และปัญหาต่าง ๆ ที่คุณแม่ยังแก้ไม่ตก) และจะเป็นอยู่นานประมาณ 7-10 วัน แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่พบว่าคุณแม่จะมีอารมณ์เศร้าหลังคลอดใหม่ ๆ โดยคุณแม่อาจจะรู้สึกสับสนแปรปรวน มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล จิตใจอ่อนไหว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารแต่ไม่ถึงกับกินอะไรไม่ได้เลย มีอาการเศร้า เหงา และอาจถึงกับร้องไห้ออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีมากขึ้นหากคุณแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกน้อยเพียงลำพัง

 

ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่จะมีความสุขที่ได้อยู่เคียงข้างกับลูกน้อย แต่ไม่นานต่อมากลับพบว่าตนเองรู้สึกเศร้าสร้อย สับสน และเป็นห่วงเป็นกังวลเรื่องการทำหน้าที่แม่ เพราะกลัวว่าจะเลี้ยงลูกไม่ได้บ้าง หรือกลัวว่าจะเลี้ยงได้ไม่ดีบ้าง คุณแม่ควรใจเย็น ๆ ให้เวลากับตนเองสักนิด เพราะการเป็นแม่ที่ดีนั้นต้องอดทนเรียนรู้ และต้องอาศัยทั้งเวลาและความตั้งใจ เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะเนรมิตให้เป็นยอดคุณแม่ได้ในทันที การที่คุณแม่และคุณพ่อได้เรียนรู้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง พยายามทำความเข้าใจ และหาทางแก้ปัญหาหรือเตรียมการไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด พอหลังคลอดแล้วคุณแม่ก็จะเอาชนะมันได้ ทำให้คุณแม่มีกำลังใจ มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส และสนุกสนานกับการเลี้ยงดูลูกน้อย

แนวทางการรักษา : สำหรับกลุ่มภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะมุ่งเน้นไปที่การดูแลในเรื่องของการปรับสภาพจิตใจเป็นหลัก ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพราะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพจิตใจด้วย เช่นการให้เวลาคุณแม่ได้พักผ่อน ไม่ปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงลูกตามลำพังเป็นเวลานานๆ การทานอาหารที่มีเซโรโทนินหรือสารสื่อประสาทลดความเครียด การได้รับกำลังใจจากบุคคลรอบข้างด้วยการรับฟังอย่างตั้งใจไม่ตัดสิน

 

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

  • เป็นอาการต่อเนื่องจากภาวะซึมเศร้าในข้อแรกนั่นเอง พบได้ประมาณ 10-15% ของคุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการโดยรวมจะเหมือนกับกลุ่มแรกทั้งหมด แต่จะมีระดับความรุนแรงมากขึ้นมาอยู่ในระดับปานกลาง เริ่มตั้งแต่ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่ลุกจากเตียง ร้องไห้จนเลี้ยงลูกไม่ได้ เครียด กังวล เบื่อหน่าย แต่กลุ่มนี้นั้นจะยังไม่ถึงกับหลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริงครับ บางครั้งอาจผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูกแต่ยังสามารถรับมือไม่ลงมือทำร้ายลูกได้ครับ สำหรับระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนเลยทีเดียวครับ และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้ และที่สำคัญครับ คุณแม่จำเป็นต้องมีคนเข้ามาช่วยเลี้ยงลูก เพื่อลดความตึงเครียดจากการที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังที่อาจพัฒนาไปสู่การเป็น “โรคจิตหลังคลอด”ได้ครับ เพราะอย่างนั้นแล้วการมีใครสักคนมาช่วยเป็นคู่คิดร่วมตัดสินใจก็สามารถช่วยคุณแม่ได้มากครับ  และเจ้าโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนครับ แล้วอาการของโรคจะหายไปได้ในไม่ช้า แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะซับซ้อนและต้องดูแลรักษานานขึ้นและยากขึ้นนั่นเองครับ

     

รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

เมื่อลูกเริ่มเลียนแบบ

3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)

รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า
  • มักจะเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน ไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัดว่าภาวะโรคจิตหลังคลอดเกิดจากอะไร แต่มีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนครั้งใหญ่หลังคลอดอาจเป็นตัวกระตุ้น  โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก ซึ่งแสดงได้ถึงการไม่ได้อยู่กับโลกของความเป็นจริงครับ คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก โดยหากจะเข้าข่ายอาการกลุ่มโรคจิตหลังคลอด จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วครับ ไม่ใช่ใครก็เป็นกันได้ง่ายๆ ซึ่งคุณหมอจะดูจาก มีประวัติโรคทางจิตเวช มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช มีประวัติการใช้ยาเสพติด การแสดงสัญญาณบ่งชี้การฆ่าตัวตายหรือทำร้ายลูก ซึ่งแนวทางการรักษานอกจากจิตบำบัดแล้ว คนไข้จะได้รับการรักษาโดยจะใช้ยาลดอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น และลดอาการโรคจิตลง หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาก็อาจใช้การรักษาวิธีอื่น ๆ ต่อไปครับ

ดูแลอย่างไร ? หากคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

1.พูดคุยกับคุณแม่คนอื่นๆ เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ๆ

2.เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับลูกในบทบาทคุณแม่ครั้งแรก

3.ครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับคุณแม่เท่ากับที่มีให้กับทารก

4.สามี ที่คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ และไม่ตำหนิ

5.มีเวลาส่วนตัวให้กับตนเอง ได้ทบทวนวิธีการจัดการอารมณ์

6.และมีเวลาส่วนตัว อย่างน้อยวันละ 1 – 2 ชม.

7.พักผ่อนอย่างน้อยกลางคืน 8 ชั่วโมง และกลางวันอีก 1 ชั่วโมง

8.หาเวลาออกกำลังกาย หรือ กิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

9.บันทึกภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นช่วงหลังคลอดเป็นระยะ

10.หากคุณแม่มีอาการเศร้า หดหู่ ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์

รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

Page : รับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า

 

ไปสู่หน้า Home
Home

พร้อมให้คำปรึกษา ติดต่อเราได้ที่

FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ SERES L กลูตาไธโอน บำรุงผิวขาวใส

ตอบ : สินค้าพร้อมส่ง เราจัดส่งให้ท่านทุกวัน โดยปกติจะใช้เวลา 1-3วัน สินค้าจะถึงท่าน

ตอบ : สินค้าทุกชิ้นของทางบริษัทผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขที่ 20-1-05761-5-0001

พร้อมรับสมัคร ตัวแทนจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
Accept Reseller
ราคาดีที่สุด ยิ่งสั่งเยอะยิ่งถูก มีราคาส่ง
Best Price
ส่งเร็ว ส่งด่วนทุกวัน
(ยกเว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
Fast Delivery
ออกใบกำกับภาษีได้
Can Issue Tax
สินค้าทุกรายการผ่าน อย.ไทย และผ่านการ QC คัดสรรคุณภาพ
Quality Product
ขั้นตอนการสั่งซื้อง่าย เพียงกดใส่ตะกร้าใน LINE SHOP ทำการโอนชำระ และแนบสลิป
Easy Procedure
WORLDMED SOLUTION

ผู้นำการให้บริการจัดจำหน่าย อุปกรณ์การแพทย์ อาหารเสริม ชุดตรวจ ATK ราคาส่ง มีประสบการณ์การให้บริการธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ และอาหารเสริมอย่างยาวนาน ทีมงาน Worldmed Solution ยินดีเป็นส่วนหนึ่งที่จะรับใช้คุณ ช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ด้่วยความใส่ใจดูเเลทุกรายละเอียด เพื่อให้คุณมั่นใจว่าจะได้รับการ บริการที่เหนือกว่า สัมผัสความประทับใจในทุกการบริการของเรา

We strive to make you happy

YOUR SMILE IS OUR GOAL : )

A,Young,Asian,Doctor,With,His,Hand,On,The,Shoulder